Sunday, 26 June 2011

Arashi WakuWaku gakkou 24/6/2011 Report

Arashi Wakuwaku gakkou(嵐ワクワク学校)


วันที่ 24 มิถุนายน 2011


โตเกียวโดม


วันนี้คิดว่าออกช้าไปหน่อยหนึ่งนะ บ่ายสองกว่าๆ จากบ้านเพื่อนสาว ที่พักอยู่เขตเดี่ยวกับคุณซากุไร มาถึงที่โตเกียวโดม ก็เกือบจะบ่ายสองแวะไปทำธุระนิดหน่อย แล้วก็ข้ามไปต่อแถวซื้อของ คนเยอะมากกกก แถวยาวเหยียด วันนี้อากาศร้อนมาก ราวๆ สามสิบเก้าองศาตอนกลางวัน แต่ตอนไปตั้งแถวนี้ก็บ่ายสามแล้ว และลมแรงมาก เลยค่อยยังชั่วหน่อย แถวที่ยาวเหยียดคดไปมาเป็นงูตัวใหญ่มากนี้ก็เลื่อนไปเรื่อยๆ ได้ มองว่าจะถึงสักกี่โมงแต่ดีนะไม่มีใครเสียมารยาทเค้ามาแทรกระหว่างทางเลย(จริงๆ ก็เป็นเรื่องปกติของญี่ปุ่น) ไปซื้อสมุดพกนักเรียนหลายเล่มเลย แต่เค้าให้เมล็ดแอปเปิ้ลมาแค่อันเดียวเพราะไม่ว่าจะซื้อจะซื้อเท่าไรก็ได้แค่อันเดียวเท่านั้น เสร็จเรียบร้อยก็เลยเวลาสี่โมงครึงไปแล้ว น้องที่นัดกันไว้ก็โทรมาหา น้องเค้ารออยู่ที่กระไดทางขึ้น ประตูที่ 41(41ゲートスタンド)ที่นั่งก็ไกลพอสมควรชั้นสอง แต่ก็เห็นชัดเจน (พกกล้องส่องทางไกลไปด้วย)


ที่ห้องเรียน (วันนี้มาเป็นนักเรียนโข่งค่ะ) มีรูปของอาจารย์ทั้งห้า ในรุ่นต่างๆ กัน ทั้งห้าคน รูปอยู่ไกลเราพอสมควร ให้กล้องส่องดูก็อดหัวเราะไม่ได้ ไอบะเซนเซ เมื่ออายุมากขึ้นก็หัวเหม่ง และโอโน่เซนเซก็หัวเหม่งเช่นเดียวกัน (ทำไมต้องเหม่งทั้งสองคนนะ งานนี้ขอบอกว่าไปตกหลุมดำของ โอโน่เซนเซเข้าอย่างจัง) เซนเซทั้งห้าเป็น ครูใหญ่รุ่นต่างๆกัน(เอาวันเกิดมาเป็นรุ่นซะงั้น) ข้างในสวยมาก โลโก้ของโรงเรียนอาราชีนี้ค่อนข้างจะประทับใจมาก ไม่รู้ใครดีไซน์นะสวยมากเสียเงินทุกทีเลย เวที(ห้องการเรียนการสอน)อยู่ตรงกลางพอดี มีจอทีวีขนาดมหึมาอยู่ทั้งสี่ด้านบนห้องเรียนที่อยู่กลางโดมนั้น เห็นชัดเจนแน่นอน


เริ่มเรียนกันก็เวลา 17:00 โดยประมาณ เซนเซทั้งห้าคนเดินออกมาทางที่นั่งอยู่พอดี เซนเซใส่เสื้อคลุมสีขาว(เหมือนชุดคุณหมอ) กล่าวสวัสดีทักทายกันเล็กน้อย และเริ่มจาก


1.นิโนะมิยาเซนเซ หัวข้อ DoKiDoKi(ドキドキ)


พูดเรื่องเกี่ยวข้องกับหัวใจและการสูบฉีดของเลือด เซนเซไปตรวจหัวใจของตัวเองที่โรงพยาบาลเป็นเครื่อง CT scan เครื่องทันสมัยใหม่ล่าสุด ร่างกายจะผ่านเครื่องนี้ใช้เวลาแค่ แปดวินาทีเท่านั้น(ตัวเครื่องห่างจากร่างกาย แค่ 5cm(มั้ง) 1doki =70cc


นิโน่เซนเซได้เปรียบกับการสูบฉีดของเลือดที่ไปหล่อเลี้ยงหัวใจ หนึ่งวัน หัวใจเราเต้น103,3572 Doki = เลือดสูบฉีด 7 ตัน


หรือเท่ากัน เราฉีดปืนฉีดน้ำ 875,000 ครั้ง หรือกดแชมพูขวดปั้มจำนวน 4,666,666 ครั้ง หรือโบก เพนไลท์ เป็นรัศมีประมาณ 15cm 66,666,000ครั้ง(ไม่รู้เซนเซเป็น อะไรกับเลข หก ก็ไม่รู้ค่ะ พยายามให้มันลงเลขหก) หรือเท่ากับ เจโฮมมัง(คนที่แสดงเรื่องไคบุซึคุงเป็นแฟรงเก้น)มีเค้ามีความสูง 218cm เอาความสูงมาต่อกัน 4,587,000คน (เรื่องเกี่ยวกับพวกหัวใจเอ่ยอะไรพวกนี้พี่ไม่ค่อยจะมีความรู้หรอกค่ะ เอามาเล่าให้ฟังเท่าที่จำได้) โชจังถามโอจังว่า เจโฮมมังนี้ตัวใหญ่ไหม โอจังบอก ใหญ่มากๆเลยนะ


นิโน่เซนเซยังให้นักเรียนทั้งสี่(เค้าผลัดกันเป็นนักเรียนอาจารย์ด้วยค่ะ) ผลัดกันวิ่งรอบสนามเลย เพื่อเป็นการทดสอบการเต้นของหัวใจ(มั้งค่ะ) สุดท้ายเส้นชัยอยู่ทางตรงหน้าพอดี เห็นโอจัง โชจัง แล้วขำมากเพราะวิ่งด้วยลุ้นไปด้วย แต่ไม้สุดท้ายไอบะจังนั้นไวที่สุด(ไม่ได้อวยก็เหมือนอวยค่ะ เร็วจริงๆ แต่เห็นเหงื่อเยอะสุดเหมือนกัน)


บทสรุปของนิโน่เซนเซ บอกหัวใจของเราก็เหมือนกับร่างกายคนเราก็เหมือนกับโลกเรานี่เอง มีส่วนประกอบไปด้วยน้ำเช่นกัน การรักษาดูแลเป็นเรื่องสำคัญมากเช่นเดี๋ยวกับการรักษาโลกเรานี้เอง


2. มัสซึโมโต้เซนเซ ในหัวข้อเรื่อง BiriBiri(ビリビリ)เป็นเรื่องเกียวกับการใช้พลังงานของมนุษย์เราค่ะ


เซนเซเล่าเรื่องว่ามนุษย์รู้จักการใช้กระแสไฟฟ้ามาเมื่อ 130ปีก่อน เซนเซพูดถึงเรื่องการใช้ไฟฟ้าของเครื่องอำนวยความสะดวกของมนุษย์เราด้วยค่ะ ตู้เย็น 500w เครื่องซักผ้า 500w เตาปิ้งขนมปัง 1200w แต่วันนี้เซนเซทดสอบการใช้ไฟฟ้าของคนเราโดยให้ปั้นจักรยาน 1Arashi=การปั่นจักรยาน หนึ่งคัน ให้ติดและใช้งานได้ด้วยนะค่ะ


หลอดไฟ = 1 Arashi(Aibachan) ทีวีหนึ่งเครื่อง =2Arashi(Aiba+Nino) ต่อมาทดสอบเรื่องการใช้ไดร์เป่าผมค่ะ แต่มัสซึโมโต้เซนเซบอกว่า ไดร์เป่าผมนั้นให้พลังไฟฟ้า จำเป็นต้องใช้ถึง 5 Arashi(ช่วยกันปั่นให้เต็มที่เก็บพลังงานให้ถึง 10ขีด ไดร์เป่าผมนั้นจะเป่าได้ก็ต่อเมื่อครบ 10 ขีด ทุกคนเลยตกลงช่วยกันปั้นจักรยานเพิ่มตุนพลังงานไว้ค่ะ มีหุ่นสาว(ตาก็ไม่มีน่ากลัวเชียว ใส่ชุดเซฟุกุด้วย) ทุกคนบอกว่าเป็นน้องสาวของ โอจัง ถามโอจังว่าชื่ออะไร โอจังบอก ชื่อซาโตมิ


ฉะนั้นทุกคนช่วยกันปั้นจักรยานเพื่อที่จะให้ซาโตมิเป่าผมให้แห้งนั้น ทุกคนตั้งใจปั้นกันน่าดู พวกเรา(ที่เป็นนักเรียนช่วยกันปรบมือให้กำลังใจคนปั่นจักรยานกันค่ะ) และในห้องเรียนมีการเปิดเพลง แฮปปี้เนสด้วย ห้าหนุ่มของเราปั้นจักรยานตามจังหวะด้วยความสนุกสนาน(หรือเหน็ดเหนื่อย) เมื่อเต็มครบ สิบขีดแล้วก็พัก เพื่อจะไปดูว่าเครื่องเป่าผมนั้นจะใช้ได้นานเท่าไร เริ่มเปิดสวิทย์ไดร์เป่าผม นิโน่เป็นคนจับเวลาว่า ไดร์เป่าผมจะใช้เวลาได้นานซักเท่าไร สรุป ไดร์เป่าผมนั้นใช้เวลาเป่าผมของซาโตมิแค่ 9 วินาทีเท่านั้นค่ะ โอจังแอบบ่นว่า ผมน้องสาวเค้ายังไม่ทันแห้งเลย(หุ่นซาโตมิ)


บทสรุป ของ มัสซึโมโต้เซนเซก็คือเรื่องการใช้พลังงาน ควรจะปิดสวิทย์ที่เราไม่ได้ใช้ทุกครั้ง และเล่าเรื่องการใช้พลังงานและการพัฒนาการใช้พลังงานในด้านต่างๆ ให้ประหยัดพลังงานให้มากที่สุดเท่าที่เราจะช่วยกันทำได้ ประเทศเยอรมันมีถึง 950บริษัท ที่ทำงานเกี่ยวกับการใช้พลังงานแสงอาทิตย์


เซนเซเล่าเรื่องการหาพลังงานมาใช้ทดแทนเช่น พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานจากลม และสุดท้ายของหัวข้อนี้


Happiness= 9 วินาที


3. ไอบะเซนเซ หัวข้อเรื่อง PakuPaku(パクパク)


ก่อนเริ่มต้นไอบะเซนเซถามเรื่องการกินของทุกคนค่ะ และเริ่มต้นด้วยการทำอาหารให้กับนักเรียนทั้ง สี่คน ง่ายๆ คงจะเรียกหมูผัดขิงก็ได้นะ มี สูตรดังนี้ค่ะ(ปริมาณไม่บอกก็แล้วกันจำไม่ได้) ส่วนประกอบจำได้(จดด้วยค่ะ) มี หอมหัวใหญ่ เนื้อหมูสันใน(มั้ง) เหล้าสาเก โชยุ ขิงบด น้ำผึ้ง(สูตรพิเศษของไอบะเซนเซค่ะ) เริ่มจากการผัด ใส่น้ำมันพอประมาณ หอมหัวใหญ่ผัดให้สลด เอาหมูใส่ ย่างให้เนื้อมันสุกเล็กน้อย เติมสาเก โชยุ และขิงบดลงไป สุดท้ายก็น้ำผึ้งค่ะ นิโน่ช่วยเตรียมข้าว (มีการจัดเตรียมนมขวดให้นักเรียน แหมเหมือนที่โรงเรียนประถมเลยนะค่ะ) นักเรียนได้รับประทานอาหารอย่างอร่อยกันเลย ไอบะเซนเซพยายามถามอยู่หลายรอบว่าอร่อยกันหรือเปล่า ทุกคนบอกว่าอร่อย(ประมาณเซนเซบังคับให้บอกว่าอร่อยมากๆเลยนะ) สุดท้ายเซนเซก็บอกว่า กว่าจะได้หมูที่อร่อยออกมาทุกคนรู้หรือไมว่ากว่าจะมาเป็นอาหารให้เราได้ทานนั้น เป็นอย่างไงกันบ้าง ชม วีทีอาร์ก่อน


ไอบะเซนเซได้ไปที่ฟาร์มเลี้ยงหมูที่ ฮอกไกโด ซึ่งมีเป็นฟาร์มขนาดใหญ่ประมาณ ห้าโตเกียวโดม(นึกไม่ออกก็นึกว่ามีโตเกียวโดมห้าอันติดกันแล้วกันนะค่ะ) ฟาร์มนี้เป็นการเลี้ยงแบบเปิดมาก โดยให้หมูอยู่กันอย่างอิสระ(ในเขตฟาร์ม)ไม่ได้เลี้ยงในคอกเล็กๆ นอกจากน้องหมูเกิดใหม่ที่ต้องอยู่ในความดูแลของแม่หมูเท่านั้นนะค่ะ


ไอบะเซนเซได้ไปดูหมูรุ่นต่างๆกัน ตั้งแต่ เกิด สองเดือน และรุ่นที่โต สิบแปดเดือนที่ต้องเข้าโรงฆ่าหมู ไอบะเซนเซช่วยเค้าทำงานหนึ่งวันตั้งแต่เริ่มจนจบเลยค่ะ ช่วยเค้าทำความสะอาดคอกหมู เก็บขี้หมูทิ้ง และเจ้าของฟาร์มพาไปดูน้องหมูเกิดใหม่ที่ยังอยู่ในความดูแลของแม่หมูอยู่และกินนมกันอยู่เลย คุณลุงอุ้มเจ้าลูกหมูตัวเล็กให้กับไอบะเซนเซอุ้ม สักพักเจ้าลูกหมูตัวน้อยรู้สึกว่าตัวเองอยู่ไกลจากแม่ และรู้สึกกลัวก็เริ่มร้องเสียงดัง และดังมาก จนต้องปล่อยไปคืนแม่หมู แม่หมูเอง ก็โกรธวิ่งพุ่งเค้าใส่(แต่มีรั้วกั้นอยู่ค่ะ) ไอบะเซนเซ และ พี่เองคิดเหมือนกัน ขนาดสัตว์ก็ยังรู้สึกหวงและรักลูกขนาดนั้น และต่อด้วยมาดูหมูอายุ สิบแปดเดือนที่กำลังจะส่งเข้าโรงเชือด ลุงเจ้าของฟาร์มบอกให้ ไอบะเซนเซเป็นคนเลือกหมูสิบตัวเพื่อเข้าโรงเชือดวันนี้ ไอบะเซนเซ(ของพี่) ทำหน้าตกใจและสลดมาก ที่ต้องเป็นคนที่เลือกหมูเข้าโรงเชือด ในขณะที่ไอบะเซนเซจับสเปรย์สีแดงเพื่อทำการมาร์ค ว่าเลือกตัวนี้เข้าโรงฆ่าสัตว์นั้น มีหมูหนุ่มในกลุ่มที่ลุงว่าต้องเลือก เอาไปโรงเชือดนี้ เข้ามาหาไอบะเซนเซด้วยความเป็นมิตรมาก เข้ามาทักทาย(อันนี้พี่ร้องไห้น้ำตาไหลโดยอัตโนมัต แม้แต่ตอนนี้นึกน้ำตาก็ยังไหล) ไอบะเซนเซบอกเค้าทำไม่ได้ แต่ลุงบอกวันนี้เป็นหน้าที่ของไอบะเซนเซที่ต้องเป็นคนเลือก เซนเซทำใจอยู่นาน (พี่เห็นหน้าแล้วยิ่งน้ำตาไหล)ด้วยความจำเป็นที่จะต้องทำ หมูเมื่อรู้ว่ากำลังจะถูกฆ่าต่างก็วิ่งหนีเพื่อไม่ให้โดนฉีดสเปรย์ ต้องเข้าใจนะค่ะ ทุกชิวิตก็ย่อมรักชีวิตและพยายามที่จะเอาชีวิตรอดด้วยกันทั้งนั้น ในที่สุดเซนเซ ก็เลือกสิบตัวได้ด้วยความทุลักทุเล และข่มขืนใจเป็นที่สุด ถึงเวลาที่ต้องต้อนหมูขึ้นรถ เจ้าหมูหนุ่มทั้งหลายที่ถูก มาร์คด้วยสีสเปรย์ วิ่งกันไม่คิดชีวิต เพราะรู้ว่าตัวเองกำลังจะตายนะค่ะ กว่าจะสำเร็จลงได้นั้น ทำเอาทั้งใจในโดมและตัวไอบะเซนเซนั้นรู้สึกเศร้าใจอย่างมาก จบวีทีอาร์ ไอบะเซนเซบอกกับนักเรียนทั้งสี่คนว่า หมูที่ทานไปเมื่อกี้นั้นก็คือพวกหมูในวีทีอาร์นั้นแหละ


ไอบะเซนเซบอก อาหารที่ทำมาด้วยความรักและถนุถนอมและอยุ่ในสิ่งแวดล้อมที่ดีเพื่อมาเป็นอาหารของพวกเราทุกคน ชองให้ความสำคัญกับอาหารที่เรากินทุกครั้งด้วย ทุกวันนี้มนุษย์บริโภคอาหาร เป็นจำนวนมาก และมีประชากรในโลกนี้เพิ่มขึ้นทุกวัน เฉพาะญี่ปุ่นนั้น บริโภคข้าวถึง 1900ตัน(ต่อปีหรือเปล่านะจำไม่ได้แล้ว) เราควรจะคิดตอนที่เรากินด้วยว่า กว่าจะปลูกข้าว ผัก เนื้อสัตว์ได้นั้นต่างใช้เวลาและความเอาใจใส่เป็นเวลานาน พวกเราควรจะกล่าวคำขอบคุณเมื่อเวลาทานอาหารเสร็จแล้ว ด้วยความรู้สึกที่ขอบคุณจริงๆด้วยนะค่ะ เวลาคุณทานอาหารเรียบร้อย ควรกล่าว GochiSousama arigatou(ごちそうさま ありがおう)เพื่อเป็นการขอบคุณ ทุกๆคนที่ช่วยกันทำอาหารให้เราได้กินและเพื่อดำรงชีวิตต่อไปได้ สุดท้าย นิโน่ก็กล่าวขอบคุณที่ไอบะเซนเซได้นำเรื่องราวนี้มานำสอนให้พวกเราให้รุ้กัน ส่วนตัวพี่เองรู้สึกบอกไม่ถูก เห็นหน้าน้องหมูไม่อยากกินเลย เนื้อหมู แต่ชอบไส้กรอกมาก(วันนี้วันพระพอดี วันนี้เลยกินเจค่ะไม่ได้ทานเนื้อสัตว์พอดี)


4. ซากุไรเซนเซ หัวข้อ Pachi Pachi(パチパチ)


เซนเซกล่าวถึงเราควรจะการปรบมือคนที่ทำดีกัน วันนี้เซนเซแต่ตัวเป็น ด๊อกเตอร์อะไรซักอย่าง(พี่ก็จำชื่อไม่ได้แต่เคยเห็นในโฆษณาเหมือนกันค่ะ) เซนเซจมูกโตนี้ออกไปที่สถานีรถไฟ ซุยโดบาชิ สถานีรถไฟหน้าโตเกียวโดมนี้เองค่ะ เซนเซจมูกโต เดินข้ามทางม้าลายที่มีไฟแดงอยู่นั้น บอกว่า


รู้ไหมว่าไฟแดงหนึ่งอันนั้น มีไฟดวงเล็กๆมากมายประกอบอยู่เป็นการคิดที่ยอดเยี่ยมมากให้พวกเราปรบมือ(ในโดมช่วยกันปรบมือค่ะ) แล้วก็มี ตัวเลขขึ้นด้วยว่าได้กี่ Pachi


บรรได นั้น มีที่จับสองแถวนั้นเพื่ออะไร คำตอบคือ อันข้างบนนั้นสำหรับผู้ใหญ่ และอันที่อยูรองลงมานั้น เป็นราวสำหรับให้เด็กจับค่ะ ซากุไรเซนเซบอก เค้าคิดได้ถึงขนาดนี้ใส่ใจกับทุกเพศทุกวัย เราควรชมเชยเค้าด้วยการปรบมือ (เอ้าปรบมือกันอีก)


ถุงกระดาษตรงขอบถุงนั้นทำไมจะต้องทำให้เป็นซิกแซกด้วย คำตอบก็เพื่อไม่ให้บาดมือค่ะ คิดได้อย่างไงเรื่องละเอียดอ่อนขนาดนี้ ใจดีมากๆ พวกเราควรจะปรบมือเพื่อเป็นการขอบคุณคนคิดด้วย(ปรมมือกันอีกแล้วค่ะ)


ซากุไรเซนเซบอกเรื่องที่ใกล้ตัวของพวกเรามากที่สุดตอนนี้ คือหลังคาโดม(โตเกียวโดม) มีพื้นที่ ทั้งหมด28,592ตารางเมตร และทำความสะอาดกันปีละหนึ่งครั้งเท่านั้น การใช้เวลาทำความสะอาดให้พนักงานถึง 30คน ทำงานวันละ 8ชั่วโมง ใช้เวลา หนึ่งเดือนถึงจะเสร็จเรียบร้อย พวกเราควรจะปรบมือให้คนทำด้วย(ปรบมือกันอีกค่ะ เจ็บมือจริงๆ แต่รู้สึกดีมากกก)


ทีมงานที่เค้าทำการเปลี่ยนล้อรถใน เอฟ วันนั้น ก็ต้องทำงานเป็นทีมในเวลาที่จำกัดมากก ถ้าพลาดไปแม้แต่นิดเดียวนั้นก็หมายถึงชีวิต การให้กำลังใจกันนั้นเป็นเรื่องที่สำคัญมากๆ


สุดท้าย ซากุไรเซนเซบอก ทุกคนที่เข้าร่วมงานแชร์ลิตี้ในครั้งนี้(เข้าโรงเรียน)ทั้งหมด สามวัน ห้ารอบ รอบละ 45,000คน รวม 225,000คน และเงินรายได้ นำไปเพื่อให้กับคนที่กำลังลำบากกัน ควรปรบมือให้กับตัวเองด้วยค่ะ ปรมมือกันค่ะ ช่วยกันปรบมือมาก บทสรุป ซากุไรเซนเซบอก การปรบมือควรจากมาจากหัวใจเสมอ(itsumo kokoro ni pachi pachi いつも心にパチパチ)


5. โอโน่เซนเซ หัวข้อ MochiMochi (モチモチ)


โอโน่เซนเซพูดถึงการพูดคุยติดต่อสื่อสารกันค่ะ การใช้โทรศัพท์เมื่อเริ่มต้นนั้น ไม่ได้เป็น โมชิโมชิ(คนญี่ปุ่นรับโทรศัพท์ ก็ต้องโมชิโมชิ) สมัยก่อนโน้น จะเรียกคนอื่นก็แค่ โอ้ย โอ้ย(おいおい) คนที่ขานรับก็บอก ไฮ โมชิอะเกมัสสุ(はい、申上げます) แต่พอพูดไปพูดมาก็กลายเป็น โมชิโมชิ จนใช้กันในปัจจุบันนี้แหละค่ะ ของโอโน่เซนเซเป็นตอนที่นักเรียนในห้องเรียนทุกคนนั้นสนุกมากๆ ค่ะ โอโน่เซนเซบอกพวกเราควรจะทักทายกัน ให้ทักทายคนที่อยู่ข้างๆเราด้วย จับมือกันทั้งสองข้าง จับมือกัน และให้ยกขึ้นด้วย รอบโดมเลย สวยมาก(โอโน่เซนเซบอก เห็นด้วยค่ะ) ต่อมาก็มี โอโน่โค๊ดกันอีก พวกเราโดนโอโน่เซนเซ สะกดจิตกันค่ะ เซนเซทำท่ายังกะร่ายมนต์ ตลกมากหัวเราะกันท้องแข็งไปหมด มีการทำหน้าทำตาด้วยสนุกและตลกจริงพวกเราถูกสาปให้ยกมือกันค่ะ และที่นี้โอโน่จะสะกดจิตให้ยกมือกันรอบห้องเรียนเลย(รอบโดม) พวกเราทำกันด้วยความสนุกสนานไม่รู้ถูกสะกดจิตหรืออยากทำก็ไม่รู้ สุดท้าย นิโน่บอกไม่ใช่อยากจะทำเวฟ เหมือนในคอนเสิร์ตหรอกหรือ (จริงด้วย) โอโน่เซนเซให้นักเรียนสี่คน กล่าวขอบคุณเพื่อน โดยเลือกให้จุนไปผุ้รับการขอบคุณ(อันนี้ไม่ได้เตี้ยมกันมาก่อนเลย สดๆ) จุนก็ตกใจเล็กน้อยค่ะ โอโน่เซนเซ ให้ จุนคุง ไปยืนอีกที่หนึ่งเป็นเวทีเล็กๆ ที่เค้าเอามาตั้งตอนไหนไม่รู้เหมือนกัน และให้ทั้งสามคนนั้นกล่าวคำขอบคุณ


โชจัง โชจังกล่าวขอบคุณจุนคุงสำหรับของขวํญวันเกิดซึ่งเป็นถุงมือ(จำไม่ได้เหมือนกันว่าปีไหน) โชจังบอกถุงมือนั้นมันอุ่นมากขอบคุณจริงๆ


นิโน่ นิโน่กล่าวขอบคุณหลายๆเรื่องตั้งแต่รู้จักกันมาเป็นเวลาสิบห้าปี


ไอบะจัง ไอบะจังขอบคุณ จุงคุง ที่คอยดูแล เอาใจใส่ไอบะจังเวลาไอบะจังหลงลืมบนเวทีคอนเสิร์ต คอนเตือนเมื่อไอบะจังลืมนะค่ะ จุนคุงเป็นคนจริงจังในเรื่องงานและใส่ใจทุกๆคน ขอบคุณมากก


โอโน่ซัง โอจังบอกจำได้เสมอตอนที่โอจังเล่น บุไต เมื่อห้าปีก่อน จุงคุงไปดูบุไต และรู้ว่า โอจังเจ็บคอหรือปวดหัวมาก(อาจจะเครียดตอนเล่นละครเพราะต้องใส่อารมณ์ หรือเรื่องอะไรก็ไม่รู้ค่ะ) จุนคุงเอายาให้กับโอจัง โอจังยังไม่กินยาตอนนั้น จุนคุงกลับบ้านไป ยังโทรศัพท์ให้ โอจังอย่าลืมกินยาอีก(น่ารักกกกมากก ) ขอบคุณจริงๆ


โอโน่เซนเซ มีเซอร์ไพร์ซด้วยการโทรศัพท์ไปหาคนในโดมด้วยค่ะ โทรไปเบอร์ไหนให้รับ ทุกคนเปิดโทรศัพท์กันใหญ่เลยค่ะ ไหนได้โทรศัพท์ที่เบอร์ที่โทรไปนั้น ซ่อนติดอยู่ใต้ที่นั่ง(ทีแรกเข้าใจว่า โทรไปหาเบอร์น้องเค้าค่ะ) ผู้โชคดี ชื่อน้องยูกิ มาจากจังหวัดไซตะมะ ค่ะ โอจังบอก โทรศัพท์อันนี้ยกให้เป็นโทรศํพท์ที่ทำเป็นพิเศษเพื่องานนี้โดยเฉพาะค่ะ มีโลโก้อยู่บนหน้าจอด้วยค่ะ น้องยูกินี้พูดไม่ออกซักคำคงจะตกใจปนกับความดีใจด้วยค่ะ โชจังถามน้องว่าชอบใครมากที่สุดในวง น้องเค้าบอก โอโน่ซังค่ะ ทั้งโอจังก็รู้สึกดีใจ(อย่างเห็นได้ชัด) ช่างเหมาะเลยเกิน โชจังถามน้องยูกิว่า อย่างจะถามอะไรโอจัง น้องเค้าบอกไม่รู้จะถามอะไร มืดแปดด้านไปหมดเลย(เข้าใจค่ะ เข้าใจมากๆ เวลานั้นพูดเป็นภาษาคนได้ก็ดีแล้วค่ะ น้องเค้าเกือบพูดจะไม่ออก)


บทสรุปของโอโน่เซนเซคือ 大切な人にありがとう(Taisetsuna hito ni Arigatou) ควรจะกล่าวคำขอบคุณคนสำคัญ


การติดต่อสื่อสารนั้นจำเป็น การพูดคุยกัน ไม่ว่าจะด้วยอะไรก็แล้วแต่ สมัยนี้ยุคการติดต่อสื่อสาร เราควร tsunagaru(つながる)การสารสัมพันธ์เป็นเรื่องที่พวกเราควรจะทำค่ะ


สุดท้ายเซนเซใจดี และให้พวกเราร้องเพลงร่วมกันด้วยค่ะ ฟุรุซาโต้ บ้านของเราควรให้ความสำคัญด้วยนะค่ะ


งานครั้งนี้ประทับใจมากกกก และของให้บุญกุศลที่ได้ร่วมทำกับอาราชี ขอให้เราได้ไปงานคอนเสิร์ตด้วยยเถอะ

Thursday, 9 June 2011

Aiba chan no Chikyu Ryokou(相葉ちゃんの地球旅行) part 2

Part 2(ดูคลิปจาก part 1)

ต่อจากตอนที่แล้ว ที่ไอบะจังไปเยี่ยมเด็กนักเรียนและดูการเรียนการสอนแนวนโยบายการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมที่โรงเรียนประถมค่ะ

คุณครู : การดำรงชีวิตของพวกเรานั้นทั้งหมดนั้น ล้วนแล้วแต่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อม อากาศที่บริสุทธิ์มาจากไหนค่ะ

นักเรียน : ต้นไม้(ค่ะ ครับ)

คุณครู : ใช่ค่ะ เพราะฉะนั้น ต้องรักษาธรรมชาติเอาไว้ จะทำให้พวกเราได้รับความสุขค่ะ

Aiba: คุณครูครับของคุณมากๆ ครับ

และก็ขอถามอีกครั้งหนึ่ง(ครูใหญ่ เดินออกมา)

Aiba: การปกป้องสิ่งแวดล้อมนั้น และจะทำให้ได้รับความสุขอย่างไรหรือครับ

มาดาม ดามูเช(ครูใหญ่): จริงๆมันไม่ใช่เรื่องใช่เรื่องยากเลยค่ะ เมื่อเราปกป้องธรรมชาติอย่างจริงจัง เป็นต้นว่า เมื่อเรามีทุกข์ ได้เห็นดอกไม้ สีเขียว (ของธรรมชาติ) ก็ทำให้ใจของพวกเราก็ได้รับความสุขค่ะ

Aiba: เป็นบทเรียนที่ล้ำค่ามากๆ ครับ ขอบคุณครับ

การใช้ชีวิตเพื่อให้มีความสุข กับการป้องกันสิ่งแวดล้อมจะเป็นอย่างไร (หมู่บ้านจูกะ)ผมได้ไปที่บ้านหลังหนึ่งที่ได้ใช้ นโยบาย GNH จะมีผลกระทบอย่างไรบ้าง อยากจะรู้จริงๆ

Aiba: สวัสดีครับ คุณพ่อกับคุณแม่หรือครับ

ดาว เซริน ครอบครัวเกษตรกร มีสมาชิกในครอบครัวทั้งหมด 10คน ที่นี่ทั้งหมดมีไฟฟ้าใช้ แต่ในบ้าน มีเครื่องใช้ไฟฟ้า คือ หม้อหุงข้าว ตุ้เย็นและ ทีวีเท่านั้น เครื่องซักผ้าและ เครื่องดูดฝุ่นนั้นไม่มี เรื่องทำงานบ้านนั้นเป็นเรื่องใหญ่เอาการ แต่ว่า

Aiba: ให้ผมทำนะครับ(ไอบะจังเริ่มกวาดบ้านช่วยคุณแม่) ที่จริงก็มีไฟฟ้า และเครื่องใช้ไฟฟ้าแล้ว เครื่องดูดฝุ่น ไม่คิดจะซื้อหรือครับ

คุณแม่ : แค่นี้ก็พอแล้ว(เพียงพอแล้ว)

Aiba: อย่างนั้นหรือครับ มันก็สะดวกแค่นั้นเองเนาะ

เรื่องซักผ้า แน่นอนครับ ซักมือ

Aiba: คุณพี่ครับ ซักผ้ากันอย่างนี้เหรอครับ

พี่สาว(อุ้มลูกด้วย): ใช่แล้วจ๊ะ

Aiba: อย่างนั้นหรอ เอะ วันหนึ่ง กี่ครั้งครับ

พี่สาว: ตอนเช้ากับตอนเย็น สองครั้งค่ะ

ไอบะจังลงไปช่วยพี่สายซักผ้าค่ะ ให้แปรงถูบนผ้าด้วย

Aiba: ทำอย่างนี้หรือเปล่าครับ ถูกไหมครับ

พี่สาว: ตรงสีฟ้าเท่านั้นนะ

Aiba: (ผิดที่แล้วจ๊ะ)ขอโทษครับ ขอโทษ อย่างนี้เหรอครับ เอะ ทำทีละผืนแล้วครอบครัวตั้ง สิบคนนะ (แล้วก็หันไปถาม) มีความสุขดีไหมครับ

พี่สาว: มีความสุขดีค่ะ

(ไอบะจัง ช่วยตากผ้าทีซักเสร็จแล้ว)

Aiba: พี่ครับ เมื่อกี้ที่บอกว่า มีความสุขดี อย่างเช่นว่าตรงไหนที่รู้สึกว่ามีความสุขหล่ะครับ

พี่สาว: ทุกคนในครอบครัวอยุ่ด้วยกัน สุขสบายดี เพราะมีอะไรก็คุยกัน ทั้งปัญหาความทุกข์และสุขก็คุยกันได้ทั้งหมด

Aiba: ทั้งหมดมีอะไรก็แชร์กัน(คุยกัน) เป็นครอบครัวที่ปรึกษากันได้หมดนี่เอง ทั้งเวลาที่เสียใจ และเวลาที่สนุกสนาน

ความร่ำรวย ทำให้สะดวกสบาย มันคืออะไรกันหรือ ตอนนี้ภูฎานค่อยๆ ร่ำรวยมากขึ้น จะเลือกหรือจะค้นหา ก็อยู่ที่ความคิด

วันนี้หนึ่งวัน ลองใช้ชีวิต(กับครอบครัวนี้) ลองคิด ลองทำเหมือนกับคนภูฎานดู

ไอบะจังช่วยพ่อ(หรือคนในครอบครัว)ไปหา หญ้าบนเนินเขาเพื่อมาให้กับวัว ที่เค้าเลี้ยงกันอยู่

Aiba: ตัวนี้ ตัวเล็กน่ารักจังเลยนะครับ

เจอร์รามี่ซัง: (พูดถึงวัวน้อย ทีกินหญ้าอยู่) รู้สึกเค้าจะชอบมาก(หญ้าที่ไอบะจังช่วยเก็บมาให้)

(ภาพตัดไปหน่อยหนึ่ง เห็นในโฆษณาก่อนหน้านี้ รู้สึกจะเป็นยิ่งธนูกันค่ะ แต่ในรายการได้ตัดออกไป และไอบะจังกำลังจะตัดฟืนค่ะ)

Aiba: โอเค ครับ(เริ่มผ่าฟืนค่ะ)

แต่ค่อนข้างจะลำบากนะ

Aiba: แข็งมากกก(กรรมกรใช้แรงงานหนัก) เอ้อยยย ต้องผ่าได้ซิ โฮรา ผ่าได้แล้ว มีความสุขจริงๆๆๆ (ผ่าฟืนได้แล้ว ก็ปาดเหงื่อที่ใช้แรงงานมา)

คุณพ่อ: เอาอันนี้เป็นเชื้อเพลิง(ฟืนที่ผ่าเมื่อกี้) มาเผาหินใส่อ่างอาบน้ำให้มันร้อน(ไอบะจัง ไอเพราะสำลักควันไฟ)

Aiba: ควันไฟเยอะมาก(เข้าใจที่ญี่ปุ่นเกิดมาไม่เคยเจอ เพราะใช้แก๊สกันตั้งแต่เด็กๆ)

ต่อไป จะต้องนำเอาหินที่เผาไฟให้ร้อนแล้ว ไปใส่ที่อ่างอาบน้ำ ซึ่งเป็นงานที่ลำบากทีเดียว พ่อหยิบ(มีที่จับ)หินที่ร้อนไปใส่ในอ่างอาบน้ำ ทีละอัน

Aiba: มาแล้ว มาแล้ว โอ่วววว (ไอบะจังยืนดูอยู่) สุดยอดไปเลย เอ่ออ เอาหินไปเผาก่อน แล้วเอามาใส่ อ่างอาบน้ำนี่เอง

(ไอบะจังก็ลองไปเอาหินมาใส่อ่างอาบน้ำเหมือนพ่อบ้าง แต่เป็นไปด้วยความทุลักทุเล และแล้วก็ทำจนได้) แอร้ยยย ร้อนจังเลย (ลองเอามือจุ่มดู) อ่ะ ร้อนแล้ว

ผ่าฟืน ตั้งแต่เริ่มจนจบ ใช้เวลาทั้งหมด 4 ชั่วโมง

(ไอบะจังเปิดเข้าไปดู พ่อที่กำลังแช่น้ำอยู่ในอ่าง)

Aiba: (ไอบะจังตะโกนบอกกำลังจะเข้าไป) เปิดละน่ะ พ่อเป็นไงบ้างครับ สบายไหม สบายไหมครับ

คุณพ่อ : (พ่อคงตอบไอบะจังไปแล้วว่าสบายดี) วันนี้ ช่วยทำงาน ตั้งหลายอย่าง ขอบคุณมากนะ

Aiba: yeahhh (จับมือพ่อ) ไม่เป็นไรครับ ยินดีมากๆ

(ปฎิบัติการณ์สำเร็จเรียบร้อย)

ได้เวลาอาหารเย็นกันแล้ว ทุกคนมารวมตัวกันเพื่อทานอาหารเย็น

Aiba: คุณพ่อ เป็นคนแบ่งอาหารหรือครับ

พาคุชา พา(ชื่ออาหารภูฎาน ประกอบด้วยหัวไชเท้า เนื้อหมู ปรุงด้วยพริก) พ่อเป็นคนแบ่งอาหาร บุตะชิกิ

Aiba: อิตะดากิมัส(จะทานแล้วนะครับ)

ไอบะจังดูว่าจะทำอย่างไงกินกันดี

Aiba: มือหรือ

พีสาว(ที่นั่งติดกับไอบะจัง): ทานอย่างนี้นะ (ไอบะจังทำท่าตาม)

Aiba: ทำอย่างนี้เหรอ อืม อร่อยๆ

Staff : คล้ายๆ กับอาหารญี่ปุ่นอะไรครับ

Aiba: บุตะคิมูจิ (หมูผัดกิมจิ)มั้ง (ดูทุกคนหัวเราะกันอย่างมีความสุขจริงๆ ค่ะ)

คนภูฎานนั้น ใช่ว่าจะคิดถึงการอนุรักษ์ธรรมชาติเป็นพิเศษเพียงอย่างเดียวเท่านั้น จริงๆแล้ว ให้ความสำคัญกับสิ่งของที่สำคัญที่สุดเท่านั้นเอง

พ่อ: เธอ(ไอบะ)ก็เหมือนกับลูกชายคนหนึ่ง คิดว่า เมื่อชาติก่อนก็เป็นคงครอบครัวเดียวกันไม่ใช่หรือ

Aiba: จริงหรือครับ ชาติที่แล้วเป็นคนภูฎานหรือเปล่านะ ผมเหรอ

คุณพ่อที่ภูฎานมีเรื่องบอกที่ออกมาจากใจ จริงๆ นะความสุขนั้นมีเรื่องมากมายที่เรียกว่าความสุขและก็ยังมีที่พิเศษอย่างเช่นว่า ให้ความสำคัญกับพ่อแม่ให้มาก ทำอย่างนั้นคิดว่าเราจะได้รับความสุขกลับคืนมาเช่นกัน(เห็นด้วยอย่างยิ่งค่ะ ตื้นตันใจมากๆ)

Aiba: (เข้าไปกอดคุณพ่อ) ขอบคุณมากครับพ่อ ขอบคุณจริงๆ

วันถัดมา เรื่องที่คาดไม่ถึงก็เกิดขึ้น

เจอร์รามีซัง: ไอบะซัง มีโทรศัพท์ จากท่านนายกรัฐมนตรี จะให้เข้าไปสัมภาษณ์ได้ครับ(ไอบะจัง ทำหน้าเอ่อไปเล็กน้อยเพราะเป็นเรื่องที่คาดไม่ถึงอย่างมาก)ไปเปลี่ยนเสื้อผ้ากันเถอะครับ

Aiba: นายกรัฐมนตรี?!!

Aiba: ปฎิบัติการณ์เร่งด่วน ทำอย่างไงดี นายกรัฐมนตรี!?

รู้สึกตื่นเต้นมาก สามารถที่จะไปสัมภาษณ์ เพราะเป็นการตอบรับมาอย่างเร่งด่วน นายกรัฐมนตรี (ไอบะจังเปลี่ยนเสื้อผ้าชุดใหม่เรียบร้อย) มารยาทการทักทายก็ต้องฝึกฝนเป็นการเร่งด่วนแบบพิเศษ ไม่ว่าจะอย่างไร คนที่จะพบคือคนทีสำคัญมาก นายกรัฐมนตรีครับ

เจอร์รามี่ซัง: มาถึงปัจจุบันนี้นะครับ ในบรรดานายกรัฐมนตรีทั้งหมดที่มี คนนี้เข้มงวดมากที่สุดเลยครับ ทุกอย่างจะต้องทำให้เรียบร้อย ไม่รัดกุมไม่ได้เลยครับ

Aiba: ครับ(ทำมือวันทยาหัดด้วย)

เจอร์รามี่ซัง: ไม่ว่าจะเป็นใคร เคยเข้าพบมาก่อน เข้าพบเป็นครั้งแรก หรือเคยเข้าพบมาแล้วก็ตาม ไม่แตกต่างกันเลย ถ้าไม่ทำให้ดี ก็จะต้องแสดงออกว่าไม่พอใจ

Aiba: (กำลังวิตกกังวลหล่ะ)จะเป็นอย่างไรนะ

ที่สำนัก นายกรัฐมนตรี

เพราะว่าเป็นตัวแทนของญี่ปุ่น ผิดพลาดไม่ได้เป็นอันขาด

Aiba: (เชิญให้นั่งรอ) ขอบคุณครับ(ตื่นเต้นประหม่ามากๆ)

ประหม่ามากๆ เลย(แต่ยังไม่ทันได้นั่ง) และแล้ว(เจ้าหน้าที่ก็สะกิดบอกไอบะจัง) นายกรัฐมนตรีมาแล้วครับ ไอบะจังทำการทักทายแบบที่ฝึกมา นายกก็เดินเข้ามาจับมือ

นายกรัฐมนตรีภูฎาน(จิกุนะ เยเซรุ ทินเร): Mr.Aiba? (ถ้าอ่านชื่อนายยกรัฐมนตรีผิดต้องขอโทษด้วยนะค่ะ เพราะอ่านตามคาตะคานะค่ะ)

Aiba: Yes,

นายกรัฐมนตรี: Very please to meet you

Aiba: Nice to meet you Masaki Aiba

นายกรัฐมนตรี สุภาพและเอาใจใส่อย่างมาก เดินไปจับมือทักทาย ช่างกลัองและ สต๊าฟทุกคนที่ไป ทีละคน ทีละคน

(เริ่มสัมภาษณ์)

มาหละ ผมต้องพยายามแล้วหล่ะ!!

Aiba: ที่เรียกว่า GNH แล้วมีเหตุผลอะไรถึงมีนโยบายนี้เกิดขึ้นหรือครับ

นายกรัฐมนตรี: พวกเรา นั้นเสาะแสวงหา ความเจริญเติบโตของเศษรฐกิจ วัตถุดิบ ความร่ำรวย ปัญหาของจิตใจ เป็นเรื่องที่จำเป็นมากที่สุดแต่กลับถูกลืมไป “ความสุข” เริ่มกระทำขึ้น สร้างขึ้นเพื่อสิ่งแวดล้อม แต่คิดว่า ส่วนของความรู้สึกนึกคิดนั้นเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด ก็เลยเริ่มโครงการขึ้นมา

Aiba: การรักษาสิ่งแวดล้อมนั้น ทำให้ความมีความสุขใช่ไหมครับ

นายกรัฐมนตรี: ความสุขและสิ่งแวดล้อม นั้น มีความสัมพันธ์กันและสำคัญมากที่สุด ความมีสุขภาพดี ก็เป็นผลทำให้เรามีความสุข ร่างกายของพวกเราก็เป็นส่วนประกอบหนึ่งของธรรมชาติ ถ้า ธรรมชาติถูกทำลายไป ร่ายกายของพวกเราก็จะไม่สามารถดำรงชีวิตอยุ่ได้

รู้สึกว่า นายกรัฐมนตรีเป็นคนใจดีมากๆ ก็เลยถามต่อว่า

Aiba: ท่านนายกรัฐมนตรีครับ ตอนนี้มีความสุขไหมครับ

นายกรัฐมนตรี: มีความสุขครับ คิดว่า ผู้คนมากมาย(ประชาชนในประเทศภูฎาน) “ความสุข”และ “ความยินดี” รวมกัน

“ความยินดี” คือตอนที่มีความรู้สึกพึงพอใจเป็นอย่างมาก คือประดิษฐกรรมความรู้สึก ประสาทสัมผัส การรับรุ้กลิ่น นั้นเป็นส่วนของร่างกาย

แต่ “ความยินดี”นั้นเป็นแค่ระยะเวลาสั้นๆ แล้วก็จากไป อันนี้ไม่ได้เรียกว่า”ความสุข”

“ความสุข” เป็นสิ่งที่ยืนยาวไม่มีวันสิ้นสุด

ผม อวยพรให้ครอบครัว และเราอาศัยอยู่ในประเทศที่มีแต่ความสงบสุขอย่างมาก และตอนนี้ประเทศอุดมสมบูรณ์ด้วยธรรมชาติ เพราะฉะนั้น ผมคิดว่า มีความสุขมาก ครับ

Aiba: เป็นคำพูดที่มีคุณค่ามากๆ ในเวลาที่สั้นนัก ขอบคุณมากๆครับ

หลังจากสัมภาษณ์

Aiba: ตื่นเต้นมากๆ เลย

เหงื่อออกที่มีมาก(เพราะตื่นเต้น) เลยมีสภาพอย่างนี้(ขย่ำผ้า บวกกับเหงื่อ)

Aiba: เหงื่อออกมากกว่าตอนที่กินพริกเสียอีก ย้า

Aiba:”รู้สึกโชคดีมากๆ ที่ได้มา ไม่ค่อยได้รู้มาสัมผัสมาก่อน รู้สึกดีมาก ได้พบกับผู้คนมากมาย คนภูฎานให้ความสำคัญกับครอบครัวมากที่สุด ถามใครๆ แม้แต่ นายกรัฐมนตรี ครอบครัวเกษตรกร คุณลุงคุณป้า ก็เหมือนกัน ทุกคนต่างให้ความสำคัญกับครอบครัว ตอนนี้เข้าใจมากๆ หลังจากกลับภูฎาน ก็จะกลับไปบ้าน

(ขอแปลถึงแค่ตรงนี้นะค่ะ)

ตอนท้ายรายการเป็นช่วงในสตูดิโอค่ะ ถ้าพอมีเวลาจะมาสรุปให้ใหม่ตั้งตอนเริ่มต้นและท้ายรายการนะค่ะ

ท้ายนี้อยากจะบอกความรู้สึกส่วนตัวบ้างค่ะ รู้สึกว่า การไปภูฎานครั้งนี้ของไอบะจัง ได้เรียนรู้อะไรมากมายจริงๆ จริงๆแล้วเราไม่มีอะไรติดตัวมา เพราะเราเองก็เป็นส่วนหนึ่งที่ธรรมชาติสร้างมาเช่น รู้สึกของคุณรายการนี้มากๆ รวมทั้งไอบะจัง ที่จัดทำขึ้นมา และอยากจะบอกว่าประเทศภูฏานสุดยอดมากๆ ทั้งแนวคิดทั้งการดำรงชีวิตอยู่ด้วย การพึงพอใจในสิ่งที่ตัวเองมีอยู่นั้นก็สำคัญที่สุด การให้ความสำคัญกับพ่อแม่นั้นก็จำเป็นมากที่สุด ดูไปหลายรอบรู้สึกถึงความประทับใจ และรู้สึกตื่นตันใจในตัวไอบะจังด้วยค่ะ(ร้องไห้เพราะรู้สึกปลาบปลื้มมาก) รู้สึกดีมากๆ ที่ได้แปลและสปอลย์เทปนี้มาก หวังใจอย่างยิ่งว่ามันคงพอจะเป็นประโยชน์ให้กับเราๆ ท่านๆ ได้เก็บเอาไปใช้ในชีวิตประจำวันบ้างไม่มากก็น้อยนะค่ะ รู้สึกว่าตัวเองที่รักไอบะจังอยู่แล้ว ยิ่งรักมากขึ้นไปอีกค่ะ (มันอยู่อีกส่วนหนึ่งที่พิเศษค่ะ)

ขอบคุณสำหรับทุกกำลัง และแวะเข้ามาอ่านกันด้วยนะค่ะ

Tuesday, 7 June 2011

Aiba chan no Chikyu Ryokou(相葉ちゃんの地球旅行) part 1

本当のエコを考える地球旅行~明日のチカラ~相葉雅紀(ดูคลิป)


อธิบายเรื่องโดย Aiba Masaki


สปอลย์แปลโดย Masakichi


Credit : link owner


ขอแปลเฉพาะพาร์ทของไอบะจัง ที่เริ่มกันที่ไอบะจังเล่าว่า ไปประเทศที่มีแต่ความสุข ประชาชนของประเทศนี้ 97% นั้นมีความสุข ด้วยการรักษาสภาพแวดล้อมและป้องกันความเป็นธรรมชาติเอาไว้ จึงทำให้มีความสุข(คลิป อาจจะมีตอนต้นที่ไม่ได้แปลนะค่ะ ต้องขอโทษด้วยค่ะ ถ้าทำให้เกิดความไม่ประติดประต่อไปบ้าง เพราะคลิปที่แปล ไม่ได้ใช้ลิ้งค์ข้างบนนี้ค่ะ ถ้าเกิดอาการขัดข้องของคลิป ให้ก๊อปปี้ ชื่อเรื่องตามลิ้งค์นั้น หาในเวปนั้นได้นะค่ะ มีอยู่หลายคลิปค่ะ)


ประเทศที่ไปก็คือประเทศภูฏานนั่นเอง และการเดินทางในครั้งนี้ไอบะจัง ยังได้ไปพบกับ นายกรัฐมนตรีของประเทศภูฎานด้วย อุเอะดะซังมีแซวว่า ปีหน้าสงสัยจะได้ไป เอเปคเป็นแน่เลย ไอบะจังบอกถ้ามีอะไรอย่างนี้ก็ไม่แน่นะ อุเอะดะบอก จะมีหรอ แซวกันพอหอมปากหอมคอ ภูฎานเป็นประเทศที่อนุรักษ์ธรรมชาติอย่างไร เชิญตามไอบะจังไปเลยค่ะ


” ประเทศที่ประชาชนมีความ สุข 97% ประเทศภูฎาน ซึ่งเป็นประเทศที่อนุรักษ์ธรรมชาติ(ECO) แต่คุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ของประชาชนในประเทศ GDP อยู่ลำดับที่156 (จาก182ประเทศ) ดูมันไม่มากเลยนะ แต่ไม่เกี่ยวกับเศรษฐกิจหรือความร่ำรวยแต่อย่างใด แล้วทำไมคนภูฎานถึงได้ว่ามีความสุข”

ที่สนามบิน ฮาเนดะ(ญี่ปุ่น)


Aiba: โดยรวมตอนนี้สภาพตอนนี้ดีเลย ตื่นเต้นมากเลยนะ ประชาชน 97% มีความสุข เป็นประเทศอย่างไร และยังเป็นประเทศที่อนุรักษ์ธรรมชาติ ตอนนี้ประเทศญี่ปุ่นคงมีข้อแนะนำที่ดีๆเพื่อมาปรับใช้กันได้ น่าสนุกจริงๆ ครับ ไปหละนะครับ


ครั้งนี้เป็นสถานที่ไปเป็นครั้งแรก เป็นประเทศที่ตั้งขนาดอยู่บนภูเขาหิมาลัย “ประเทศภูฎาน” สนามบินนานาชาติ นั้นตั้งอยู่บนภูเขา ซึ่งเป็นสนามบินที่ได้ชื่อว่า ลงจอดยากที่สุดแห่งหนึ่งในโลกนี้ รู้สึกกลัวนิดหน่อย(ไม่หน่อยแหละ) จากญี่ปุ่นถึงประเทศภูฎานใช้เวลาในการเดินทาง 15 ชั่วโมง


Aiba: ถึงแล้วครับบบ ในที่สุดก็ถึงแล้วว ตึกสวยมาก มีความโดดเด่นเฉพาะตัวมากๆ ภูเขาก็สุดยอดไปเลย(สนามบินอยู่บนเขาจริงๆ เห็นภูเขาใกล้ๆเลย)


ที่ด่านตรวจคนเข้าเมือง รู้สึกว่าบรรยากาศจะไม่ค่อยดีสักเท่าไร สต๊าฟโดนค้นกระเป๋า โดนตรวจค้นอย่างละเอียดและก็พบปัญหาจนได้ บุหรี่ที่สต๊าฟถือมานั้นเป็นของต้องห้าม เจ้าหน้าที่บอก ไม่ว่าด้วยเหตุผลจำเป็นอะไรที่ต้องเอาบุหรี่เข้าไป จะต้องเสียภาษี 200% ภูฎานเป็นประเทศที่ไม่สูบบุหรี่ ปี 2004 ประเทศภูฎานหยุดการนำเข้าบุหรี่และมีกฎหมายมาควบคุมอย่างเข้มงวด ภาษีนำเข้าสูงเป็น สองร้อยเปอร์เซ็นต์


Aiba: 200%


Staff: ได้แค่กล่องเดียว กล่องที่สอง(เป็นต้นไป)ต้องเสียค่าปรับเพิ่มอีก


Aiba: อย่างนั้นเลยหรอ เป็นประเทศที่สุดยอดจริงๆ อย่างนั้นเน้ออ อ่ะ คอนนิจิวะ(สวัสดีครับ)


ไกด์: สวัสดีครับ ยินดีตอนรับสู่ภูฎาน


Aiba: ไอบะครับ ยินดีที่ได้รู้จักครับ ฝากเนื้อฝากตัวด้วยครับ


การเดินทางในครั้งนี้ มีเจอร์รามี่ซังเป็นไกด์แนะนำ เคยมีประสบการณ์ทำงานในญี่ปุ่นมาก่อน(คุณเจอร์รามี่พูดภาษาญี่ปุ่นเก่งมากค่ะ สำเนียงก็ดีมาก ในความรู้สึกของตัวเองนะค่ะ)


กองตรวจคนเข้าเมือง ได้เรียนมาเป็นพิเศษเพื่อมาเป็นไกด์แนะนำต่างชาติที่เข้ามาในประเทศ


Aiba: มันเป็นเรื่องที่จำเป็น ไม่มี(ไกด์)นำทางด้วยไม่ได้เลยหรือครับ


เจอร์รามี่ซัง: สำหรับภูฎานแล้ว มันเป็น หน้าที่(義務=Gimu)นะครับ(หน้าที่ ที่ต้องรับผิดชอบ)


Aiba: หน้าที่ หรือครับ


สำหรับชาวต่างชาติที่เข้ามาในประเทศนั้น จำเป็นจะต้องมีไกด์คอยแนะนำ ถือเป็นเรื่องในหน้าที่ ก่อนที่จะมีนักท่องเที่ยวเข้ามาในประเทศนั้น จะมีแพลนของทางรัฐบาล ส่งรายงานมาเพื่อให้เตรียมการ


Aiba: ไปด้วยกันตลอดเลยหรือครับ


เจอร์รามี่ซัง: ใช่ครับ ไปด้วยกันตลอดเลย


มันเป็นเพราะอะไรนะหรือ(ที่ต้องมีไกด์ติดตามไปด้วยตลอด) เป็นต้นว่า ป้องกันนักท่องเที่ยวทำลายธรรมชาติ(ไม่ว่าตั้งใจหรือไม่ก็แล้วแต่) มันดูทำให้เป็นเรื่องที่เข้มงวดมากๆ แล้ว ECO กับ ความสุข มันจะไปด้วยกันอย่างไง


Aiba: มีความสุขไหมครับ


เจอร์รามี่ซัง : มีความสุขดีครับ


Aiba: เออ อย่างนั้นหรือครับ อยากได้ยินหลายๆคนนะครับ(ว่ามีความสุข)


(ไปเมืองหลวง ทิมปุ)


เจอร์รามี่ซัง: อันนี้เป็นทางด่วน ที่ไปเมืองทิมปุ ครับ เป็นทางด่วนที่ดีที่สุดเลยครับ


Aiba: เดี๋ยวนะครับ วัว ครับมีวัวเดินอยู่ด้วย อันนี้เป็นทางด่วนใช่ไหมครับ


เจอร์รามี่ซัง: ใช่ครับ


Aiba: มา เหรอ อ่ะ อย่างนั้นเหรอ(ไอบะจัง เห็นคนเดินบนทางด่วนด้วย เลยเลิกถามต่อ หุหุ)


ทั้งคนและวัว เดินได้บนทางด่วน ระดับความสูงจากน้ำทะเล 2600m


Aiba: รู้สึกว่าความกดอากาศมันเปลี่ยนหรือเปล่าครับ ปวดหูมากเลย ตรงนี้ วิวสวยนะครับ อยากออกไปดูข้างนอกหน่อยได้ไหมครับ (ไอบะจังเปิดประตูรถออกไป) สุดยอดเลยนะ ที่นี่ เจอร์รามี่ซัง ตรงนี้สวยมากๆ สุดยอดดดเลย


(วิวที่สวยงามมาก/ Zekkei/絶景) มันเป็นวิวที่สวยงามมากๆ เลยนะครับ


เจอร์รามี่ซัง: ใช่ครับ


(เมืองทิมปุ)


Aiba: ถึงแล้วครับ ถนน ถนนเมืองทิมปุครับ


ประชาชนมีความสุข 97% กับ ECO นั้นมันจะสัมพันธ์กันอย่างไรนะ และแล้วก็รู้สึกสะดุดตาอะไรบางอย่าง


Aiba: ทุกคนใส่ชุดอยู่ ชุดที่เหมือนกิโมโนนะครับ


เจอร์รามี่ซัง : ใช่ครับ เหมือนอย่างนี้ ชุดประจำชาติของภูฎานนะครับ เป็นขนบธรรมเนียมประเพณี และเพื่อเป็นการรักษาเอาไว้ นักเรียน และประชาชนทั่วไปใส่กัน ถือว่าเป็น “หน้าที่” นะครับ


Aiba: เป็น หน้าที่ หรอครับ


ภูฎานนั้น มีเชื้อชาติเดียวกัน(เผ่าเดียวกัน) ของผู้ชาย เรียกว่า “โกะ” ส่วนของผู้หญิงเรียก “คิร่า” นักเรียน นักศึกษา ใส่กัน ถือว่าเป็น หน้าที่บังคับ


Aiba: หน้าที่มีเยอะนะครับ


เจอร์รามี่ซัง ครับ มี หน้าที่เยอะเลยครับ


ประชาชนทั่วไปรู้สึกว่าไม่พอใจนั้นจะมีบ้างหรือเปล่าน้า


Aiba: ขนบธรรมเนียมที่เหมือนกัน มันสวยงามมาก(ชุดประจำชาติที่ผู้หญิงใส่อยู่) แต่ว่า มันเป็นหน้าที่ มันไม่เคร่งครัดไปหรือครับ


Women: มันก็ไม่ใช่อย่างนั้นนะค่ะ(ไม่ได้รู้สึกว่าอึดอันหรือเคร่งครัดอะไร)


Aiba: ขอโทษนะครับ มีความสุขไหมครับ


Women: มีความสุขดีค่ะ


ลองใช่ชุดประจำชาติของภูฎานดูดีกว่า (เข้าร้านสั่งทำ ชุดประจำชาติ)


Aiba: ที่นี่แหละ ที่จะเปลี่ยน(ชุด) ตอนนี้มีอะไรเป็นที่นิยมบ้างครับ ชุดประจำชาติที่มันดูวัยรุ่นหน่อย(แหมมม อันนี้สำครับคนที่แก่แล้วเค้าถามค่ะ) แบบไหนดีครับ


Tailor: อันนี้เลยค่ะ วัยรุ่นกำลังนิยมกัน


Aiba: สีนั้นก็ดีนะ


Tailor: สีสดใสกำลังเป็นที่นิยมค่ะ


ผ้าที่ทอ ใช้สำหรับชุดประจำชาตินั้น หนึ่งชุด(เซ็ต)ใช้เวลาทอถึง 14เดือน เป็นงานที่ลำบากมากทีเดียว


และแล้วว


Aiba: paa~^^(ชุดประจำชาติของภูฎานก็เสร็จเรียบร้อย) และจากนี้นะครับ อยากจะศึกษาเรื่องต่างของภูฎานกันครับ


ว่าแต่ว่า รู้สึกจะไม่ค่อยดีเท่าไร


Aiba: หิวแล้วครับ


เจอร์รามี่ซัง: งั้นก็ไปร้านอาหารที่ผมไปบ่อยๆดีกว่านะครับ


หิวมากๆ เลย ช่วยไม่ได้ที่จะต้องหาอะไรทานกันครับ เป็นอาหารชุดของภูฎานครับ


พนักงาน: เชิญเลยครับ


เจอร์รามี่ซัง: เผ็ดหน่อยนะครับ


(พริกเขียวผัดชีส) ไอบะจังลองชิมดู และรสชาดเป็นอย่างไง


Aiba: อันนี้ไม่ไหวนะ(เผ็ด) อ่าๆๆ ไม่ไหวๆ (เจอร์รามี่ซังตักเต็มช้อน ) เอาอย่างนั้นเลยเหรอ


(ไม่ไหวหรอกมั้ง) อันตรายนะ อันนี้


เจอร์รามี่ซัง: เผ็ด แต่อร่อยดีครับ


Aiba: มันไม่ใช่ระดับที่เรียกว่าอร่อยได้เลยนะ(เผ็ดมากสำหรับไอบะจังนะค่ะ)


(ไอบะจัง เหงื่อออกเต็มไปหมด) เหมือนกับเล่นเกมแพ้(แล้วได้กิน)อย่างไงไม่รู้ อาหารของภูฎานนั้น ส่วนมากจะมีส่วนประกอบที่ใช้พริกเป็นส่วนประกอบ เครื่องปรุงก็เลยใช้พริกเป็นหลัก


(ไอบะจังลองชิมอาหาร อีกอย่างหนึ่ง)


Aiba: อร่อยครับ แต่ เอะ มันเผ็ด หรือไม่เผ็ดก็เริ่มไม่เข้าใจแล้วครับ


มากันออกมาเดินข้างนอกกัน และแล้ว


Aiba: สี่แยกใช่ไหมครับ


เจอร์รามี่ซัง : ใช่ครับ สี่แยก


Aiba: ไม่มีไฟแดงหายไปหรือเปล่า


เจอร์รามี่ซัง : ที่ภูฎาน ไม่มีไฟแดงครับ


Aiba: ไม่มีสักอันเลยหรือครับ


เจอร์รามี่ซัง: อันหนึ่งก็ไม่มีครับ


เพื่อเป็นการอนุรักษ์(หรือประหยัดไฟฟ้า) สี่แยกไฟแดง อันหนึ่งก็ไม่มีครับ แต่มี ตำรวจจราจร ค่อยโบกและดูแลความเรียบร้อยแทน แต่ตามหน้าโรงเรียนก็จะมีนักเรียนที่ทำหน้าที่คอยดูแลอยู่เช่นกัน ไม่เป็นไรแน่หรือนั้น


Aiba: ไม่เคยมีอุบัติเหตุเลยหรือครับ


เจอร์รามี่ซัง: ถ้าเอื้อเฟื้อกัน(ประนีประนอม) ก็ไม่มีอุบัติเหตุเกินขึ้นเหรอครับ


เอื้อเฟื้อกัน แบ่งกันไป ก็จะไม่เป็นไร ถ้าเป็นญี่ปุ่นเป็นเรื่องที่เหลือเชื่อมากๆ (ไทยก็ด้วยครับ) ยิ่งไปกว่านั้น


Aiba: (ชี้ไปที่กลางถนน) ที่ล้มตัวนั่นไม่ใช่ ตายแล้วหรือครับ


เจอร์รามี่ซัง : ยังไม่ตายครับ เค้านอนอยู่(น้องหมาตอนกันอยู่กลางถนน)


Aiba: รถ(วิ่งไปมา) จะดีหรือครับ มันไม่เป็นอันตรายหรือครับ


คนภูฎาน ให้ความสำคัญกับสิ่งที่มีชีวิตทั้งหมด (เห็นรถวิ่งผ่านไปมา น้องหมาบ้านเค้านี่ไม่สะทกสะท้าน นอนหลับได้อย่าง สบายใจจริงๆ ไม่อยากจะเชื่อว่ามีอยู่ในโลกนี้เหมือนกันนะค่ะ) และ


Aiba: เจอร์รามี่ซัง ตึกนะครับ ดูเหมือนกันทั้งหมดเลย


เจอร์รามี่ซัง : ตึกของภูฎานนั้น ได้กำหนดแบบดีไซด์ไว้แล้วครับ รัฐบาลเค้ากำหนดหน้าที่(ให้เป็นแบบเดียวกัน)ครับ


Aiba: ภารกิจ(หน้าที่)อีกแล้ว (กิมู)


แม้แต่สถาปัตยกรรมต่างๆ ทางรัฐบาลก็กำหนดกฎหมาย ของแบบอาคารไว้เรียบร้อย (ไปที่สถานี่ก่อสร้างบ้าน) คนที่สร้างบ้าน จะเป็นอย่างไงนะ


Aiba: ร้องเพลงด้วยทำงานด้วยแหละ


เจอร์รามี่ซัง: ครับ ร้องเพลงกันด้วย


Aiba: นะ ดูท่าทางสนุกเชียว บ้านจะเสร็จเมื่อไรครับ


ช่าง: ประมาณครึ่งปีนะครับ แต่บางทีถ้าไม้ ไม่มา ก็จะใช้ระยะเวลานานมากกว่านั้นครับ


ที่ภูฎาน จะไปตัดไม้กันเองเป็นเรื่องที่ทำไม่ได้ ทุกอย่างมีกฎหมายเค้ามากำหนด การตัดไม้จะตัองมีใบอนุญาตถึงจะทำได้ ไม่เข้มงวดไปหรอ


Aiba: อันนี้ทางรัฐกำหนดไว้แล้วหรือ


ช่าง: เด็ดขาดเลยครับ


Aiba: เป็นข้อบังคับ(กิมู) หรือ


เจอร์รามี่ซัง: ใช่แล้วครับ


Aiba: กิมู(ข้อบังคับ) ไม่มากไปหรอครับ แหน่ะ


กฎหมายของภูฎานกำหนดไว้ ว่าจะต้องมี ป่าไม้จำนวน หกสิบเปอร์เซ็นต์ขึ้นไปถึงจะให้อนุญาต ตัดต้นไม้ได้ เป็นเรื่องที่ดี หากเอาไม้ไปขาย เศษฐกิจ ก็จะดีขึ้นหรือเปล่าหล่ะ ความไม่พอใจที่แสดงออกก็ไม่น่าจะแปลกไม่ใช่หรือ


ช่าง : มันก็เป็นเรื่องที่ช่วยไม่ได้ กฎหมายเค้าได้กำหนดไว้เพื่อเป็นการป้องกันป่าไม้นะครับ


Aiba: ถ้าทำตามอำเภอใจ อีกหน่อยก็คงจะไม่เหลือเนาะ (เดินไปที่คนงานหญิงที่ร้องเพลงกันทำงานไปด้วย) สวัสดีครับ มีความสุขดีไหมครับ


คนงานผู้หญิง ทุกคนแข็งแรง มีความสุขค่ะ (มีความสุขค่ะ)


(ที่ตลาดใหญ่ในเมืองทิมปุ)


และเราก็มากันที่ ตลาดใหญ่ของเมืองทิมปุครับ


Aiba: อันนั้นมะพร้าวใช่ไหมครับ


เจอร์รามี่ซัง: ใช่ครับ


Aiba: มะพร้าวภูฎานหรือครับ


เจอร์รามี่ซัง: ทางใต้ภูฎานนะครับ


Aiba: ภูฎานตอนใต้เหรอครับ


Aiba: ของที่ซื้อห่อด้วยหนังสือพิมพ์ เป็นการอนุรักษ์นะ


เจอร์รามี่ซัง: ตรงนั้นมีผักของภูฎานด้วยครับ(โอราจิโยชิโตะ) จะกินเป็นสลัดก็ไม่เป็นไรครับ


Aiba: อร่อยใช่ไหมครับ(แม้ค้ายื่นของมาให้ ไอบะจังซื้อของเต็มจนหอบแทบไม่หมด) ขอบคุณครับ ขอบคุณครับ ถ้าได้ถุงมาบ้างก็คงจะดีนะครับ


เจอร์รามี่ซัง: ที่ภูฎานเค้าไม่ใช้ถุงพลาสติกกันนะครับ


Aiba: เอะ จริงหรือครับ


เพื่อเป็นการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ร้านค้าหยุดให้ถุงพลาสติกกัน ทุกคน มี my bag ไปเมื่อไปซื้อของกัน


แต่ไม่ได้นึกว่า ECO Bag นะ มันจะไม่มี ความรู้สึกว่าไม่พอใจกันไม่มีเลยเหรอ เพราะอะไรนะ


และก็รู้สึกมาตลอดเลย(ว่าเป็นเพราะอะไรนะ)


Aiba: ตอนนี้ เป็นเพราะภูฎาน ไม่มีมีการนำเข้าของที่อำนวยความสะดวกจากต่างประเทศนั้น คิดว่าภายใน(ประเทศ)มีความสุขดี ก็คิดอยู่บ้างเหมือนกันนะ


และแล้วก็มีถึงสถานที่ ที่แนะนำ


Aiba: ร้านซีดีหรือครับ


เจอร์รามี่ซัง: ร้านซีดีครับ


Aiba: คูซานโวสวัสดีครับ คูซานโวล่า คนภูฎาน มี ไอดอล ไหมครับ


คนขายซีดี: มีครับ(คนขายเอาซีดีให้ไอบะจังดู)


“ผู้มีชื่อเสียเกินคาดหมาย ที่จะอยากจะหาในภูฏาน”


Aiba: ถามของ อาราชีดีกว่า arashi Do you know ARASHI?


(CM)


Aiba: ภูฎาน มีไอดอลไหมครับ


เจอร์รามี่ซัง: (คนขายเอาซีดีมาให้ดู) เธอเป็นนักร้องนะครับ


Aiba: น่ารักไหม น่ารักไหมครับ (กำลังได้รับความนิยมสูง)


คนขายซีดี: น่ารักครับ(คุณเจอร์รามี่แปลให้ฟังอีกที่)


Aiba: เหรออย่างงั้นเหรอ Do you know ARASHI ?


คนขายซีดี : หา อาราชี เหรอ


Aiba: (Arashi Arashi for dream) ไม่รู้จักหรอ


คนขายซีดี: ไม่รู้จักหรอก


Aiba:ไม่รู้เหรอ (คนขายส่ายหัวบอกไม่รู้จัก) มีชื่อเลยนะ แฟมัสสุ สุตา ดาโย(famous starだよ)


ไม่รู้จักอาราชีแหละ แต่เห็นมีซีดีที่มาจากฝั่งอเมริกาวางขายอยู่มากมาย ตอนนี้มีทั้งโทรศัพท์มือถือ โทรทัศน์ เคเบิลทีวีที่มีมากกว่า หกสิบช่องจากทั่วโลกก็สามารถดูได้(เจอร์รามี่ซังชี้ให้ดูร้านอินเตอร์เนตคาเฟ่) และก็มีเหมือนที่ญี่ปุ่นมี ร้านอินเตอร์เนทคาเฟ่


หญิงสาวที่กำลังใช้บริการร้านอินเตอร์เนท : ส่งเมล์ไปหาคนที่รู้จักที่อยู่ต่างประเทศบ้าง ได้รู้ข่าวต่างประเทศด้วยค่ะ สะดวกมากค่ะ


แม้กระทั้งสิ่งนี้ครับ


Aiba: อะไรนะครับ เกม ที่นี่เค้าเรียกอะไร


เจอร์รามี่ซัง: เกมครับ


Aiba: ของใหม่ๆ ก็มีขายแล้วอ่ะ จะว่าไม่รู้ก็คงจะไม่ใช่นะครับ เหมือนกันทั่วโลกเลย


สินค้าที่ใช้เพื่ออำนวยความสะดวกสบายก็รู้จัก แต่ก็ไม่ใช่กัน ทำไมถึงอดทนได้นะ ตอนนี้ที่ญี่ปุ่น จะไม่ให้ใช้เลย เป็นอะไรที่ยากมากๆ


Aiba: มีความสุขไหมครับ


Men 1: มีความสุขดีครับ


Men 2(ทำทรงผมเหมือนบีเบอร์เลย): มีความสุขดีครับ เพราะว่าทุกคนในครอบครัวมีสุขภาพแข็งแรงดีนะครับ


ผู้หญิงที่อุ้มลูก: มีความสุขดีค่ะ การงานก็ดี ลูกก็ไม่เจ็บป่วยค่ะ


ทุกคน(เท่าที่ถามมา)ล้วนแล้วแต่บอกมีความสุข มันเป็นเพราะอะไรนะ ที่สำนักงานหนังสือพิมพ์ ได้พบกับนักวิเคราะห์ข่าว เทนจินซัง


Aiba: ทุกคนตอบว่ามีความสุขนะครับ อยากรู้ครับว่าเพราะอะไร(เป็นเหตุผล)


เทนจินซัง : ก่อนอื่นควรต้องทำความเข้าใจคำที่ Gross National Happiness GNH(มวลรวมความสุขแห่งชาติ)


Gross National Happiness หรือเรียกย่อๆ ว่า GNH (มวลรวมความสุขแห่งชาติ)


เทนจินซัง: Gross National Happiness เป็นดัชนีวัดผลครับ



ทุกคนคงรู้จัก GDP(Gross Domestic Product) ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ บ้างไม่มากก็น้อย แต่ประเทศภูฎานนั้น ใช้ GNH เป็นตัวชี้วัด ประเทศใส่ใจถึงความเป็นอยู่ อย่างมีความสุขของประชาชนมากกว่า มีเงินความร่ำรวยนั้นไม่ได้เป็นตัวชี้วัดแต่อย่างใด


Aiba: เราสนันสนุน GNH ให้ต่อเนื่องได้อย่างไรครับ


เทนจินซัง: การสนับสนุนให้มี GNH ปัจจัยหนึ่งก็คือ การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ครับ


ปัจจัยที่สำคัญมากก็คือการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม พลังงาน 99%คือพลังงานจากน้ำ ป่าไม้มีมากกว่า 60% และไม่ใช้ของที่เป็นพลาสติก GNH ที่ว่าไม่ใช่แต่การอนุรักษ์ธรรมชาติเท่านั้น การกำหนดแบบสถาปัตกรรม และขนบธรรมเนียมประเพณี ที่ควรจะรักษาเอาไว้ และเพื่อจะไปหาคำตอบที่แท้จริง GNH ก็ได้เดินทางไปหมู่บ้านต้นแบบกันครับ ใช้เวลาการเดินทางโดยรถยนต์ 7 ชั่วโมง (สองทุ่ม) หมู่บ้านโพพุจิกา ตอนนี้พึ่งจะสองทุ่มเท่านั้น แต่มองไปทางไหนก็มืดสนิทไปหมด เห็นแสงไฟจากโรงแรมที่จะเข้าพัก


พนักงานที่ดูแลโรงแรม: ที่หมู่บ้านนี้ มีนกที่ใกล้จะสูญพันธ์ได้บินมาที่นี่ครับ เพื่อไม่ให้เป็นอันตรายกับนกที่บินไปมา สายไฟเลยถูกยกเลิกการใช้งานไปนะครับ


นั่นก็คือ นกโอคุโรจิรุ หน้าหนาว บินมาจากภูเขาหิมาลัย มาที่หมู่บ้านแห่งนี้ครับ


คุณลุง(เครา): ไม่มี(นก)บินมา มันคงดูเงียบเหงามาก ไม่มีไฟฟ้า ก็ดี(ไม่เป็นไร)


คุณผู้หญิง: ก็เพราะว่า ที่นี่มีนก ก่อนที่พวกเราจะเกิดเสียอีก ไฟฟ้ามันก็จำเป็น แต่ ถ้ามีสายไฟ นกก็คงจะไม่บินมา คงเหงาน่าดู


เพื่อปกป้องนก จึงไม่มีสายไฟ GNH ของที่นี่ แตกต่างกับที่ญี่ปุ่นคิดโดยสิ้นเชิง


Aiba: โดยพื้นเพ ของคนญี่ปุ่น นั้นเหมือนกัน(เผ่าพันธ์เดียวกัน) เพราะที่ตอนผม ใส่ โกะ ชุดประจำชาติ เหมือนคนภูฎาน มากกว่า คนภูฎานจริงๆ เสียอีก


Ueda-san กับคน อื่นๆ ในห้องส่ง : ชุดที่ใส่ก็เหมาะมากๆ เลย


Aiba: ส่วนสูงก็พอๆกัน


Guest: ไอดอลของภูฎาน( No.1 ภูฎานไอดอล) ดูไม่ค่อยจะยอมรับสักเท่าไรนะ


Aiba: ยอมรับซิ ก็บอกว่า น่ารัก ผมก็บอกไปแล้วนะ


Guest: บอกแล้วเหรอ


Aiba: ตัดออกหมดเลยนะตรงนี้


Guest: โกหกแหละ


Ueda-san: ครั้งนี้นะ ไอบะคุง ภูฎาน กับ ญี่ปุ่น มีสิ่งของ ที่เชื่อมสัมพันธ์ ที่ได้ไปเจอ


Aiba: ใช่ครับ ตอนนี้ ที่ภูฎานมีขาย(ไอบะจัง หยิบขวดน้ำดื่ม) คือ น้ำ ครับ คือ ดูนี่เลยครับ “ Bhutan for Japan


Ueda-san: จริงด้วยแหละ


น้ำดื่ม ที่มีจำหน่าย ทั้งในโรงเรียนและร้านค้า บริษัททั่ว และทำมาบริจาคให้กับผู้ประสบภัยในญี่ปุ่น


Aiba: เพื่อที่จะระดมเงิน จึงทำขึ้นเพื่อจำหน่าย และนำรายได้ สมทบทุน บริจาคให้กับผู้ประสบภัยที่ญี่ปุ่น ดูข้อความที่เขียนข้างหลังนะครับ “Here’s your chance return the kindness” เป็นโอกาสของคุณจะได้ขอบคุณในความกรุณา




ODA ประมาณปี 1964 ประเทศญี่ปุ่นได้ส่งเงินช่วยเหลือ ให้กับภูฎานเป็นจำนวนเงินประมาณ 453(oku)yen ณ(1=37ล้านบาท โดยประมาณตอนนี้นะค่ะ )


Aiba: เรื่องราว(เรื่องที่เกิดแผ่นดินไหวและ ซึนามิ) คนภูฎานก็รู้ จึงได้รวมตัวกันจัดทำ(น้ำดื่ม จำหน่าย)และก็เป็นครั้งแรกที่ทำกันขึ้นมา ได้ไปเจอ รู้สึก ตื้นตันใจมากเลยครับ


Ueda-san: แล้วเป็นไงบ้าง ที่ได้ไปพบกัน ท่าน นายกรัฐมนตรี


Aiba: ต่อจากนี้แหละ จะเป็น งานหลักเลยหล่ะ ก่อนหน้านี้ อิสระ ได้เข้าพบกับ นายกรัฐมนตรี มันเหมือนกับเป็นตัวแทนของญีปุ่นเลยนะ


Ueda-san /Guest: แน่นอน แหละ เป็นเหมือนตัวแทนของญี่ปุ่นนั่นแหละ


Aiba: ใช่ครับ และก็อยากจะให้ทุกคนได้เห็นครับ และผมได้ไปทำอะไรมาบ้าง (เรื่องที่ได้สนทนากับ นายกรัฐมนตรี)


เชิญชม วีทีอาร์ เลยครับ


“ ไอบะ มาซากิ สนทนากับ นายกรัฐมนตรีของภูฎาน”




GDP ก็เปลี่ยนไป แต่สำหรับภูฎานนั้น GNH มวลรวมความสุขแห่งชาตินั้นจะเป็นในรูปแบบไหน เราไปกันที่โรงเรียนในเมือง ทิมปุกัน




(โรงเรียนประถม รินเชน คุนเปน)


Aiba: ทุกคนมารวมตัวกัน ไวมาก สุดยอดไปเลย


รู้สึกว่า คนต่างชาติจะเป็นที่สนใจมากๆ เหมือนกันคนที่ได้รับความนิยมอย่างมาก(เด็กๆ วิ่งเข้ามาทักทายไอบะจัง อย่างล้นหลาม เด็กๆ น่ารักมากๆ)


Aiba: ดูนะๆ (ไอบะจังเอาที่กระโดดเชือก มากระโดดให้เด็ก นักเรียนดูด้วย ทำแรงเกินไป ทำให้เชือกขาด ไปโดนเด็กนักเรียน ไอบะจังเรียบวิ่งเข้าไปกอดขอโทษเด็กคนนั้น)


ทุกคนดูสนุกสนาน และมีความสุขกันจริงๆ เลย


Aiba: ดูมีความสุขมากเลย(จับคางเด็ก)


Boy: มีความสุขครับ


ที่โรงเรียนประถม ก็มีการคิดเรื่อง GNH เช่นเดียวกัน หนึ่งชั่วโมงใน หนึ่งอาทิตย์นั้น ก็จะพูดถึงเรื่อง การอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในชั้นเรียน และแล้ว


Aiba: ภาษาอังกฤษทั้งหมดเลยหรือ(การเรียนการสอน)


เจอร์รามี่ซัง : ใช่ครับ


Aiba: เหรอครับ


ภาษาแม่ของ ภูฎาน คือ ซองกะ แต่การเรียนการสอนในชั้นเรียนนั้น ทั้งหมดใช้ภาษาอังกฤษ


Aiba: สุดยอด


เพื่อการสื่อสารกับนานาชาติ เป็นการพัฒนาบุคลากรขั้นพื้นฐาน ไม่ใช่เพื่อขนบธรรมเนียมประเพณี ภูฎานนี่น่าชื่นชมจริงๆ